ย้ายศีรษะไปร่างใหม่ อีกไม่นานก็จะสำเร็จ

โครงการ 2045 อินิชิเอทีฟ
เป็นการย้ายสมองและจิตจากร่างของผู้ป่วยหรือคนพิการเพื่อให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตอยู่ต่อไปในร่างใหม่ ที่ทำงานเหมือนร่างกายมนุษย์ปกติ ที่ผ่านมายังไม่มีใครทดลองสร้างหุ่นยนต์ลูกผสมที่ตัวเป็นหุ่นยนต์แต่สมองเป็นของมนุษย์ ศัลยแพทย์สมองเคยผ่าตัดย้ายศีรษะจากร่างหนึ่งไปยังอีกร่างหนึ่งได้สำเร็จหลายครั้ง แต่เป็นการทดลองกับสัตว์ และหลังจากผ่าตัดได้ไม่กี่วัน เจ้าของศีรษะก็ตาย จากนี้ไปอีกไม่กี่ปี แพทย์จะสามารถย้ายศีรษะของมนุษย์ไปยังร่างใหม่ได้ ผู้ที่มีโอกาสในการทำสำเร็จคือ นพ.แชร์จิโอ กานาเวโร นักวิจัยสมองชาวอิตาเลียน ซึ่งตั้งใจจะย้ายศีรษะของมนุษย์ให้สำเร็จภายในปี 2017 และในขณะนี้ มีผู้ป่วยได้รอการผ่าตัดแล้ว 1ราย คือ วะลิรึ สปีริโดโนฟ ชายหนุ่มชาวรัสเซียวัย 30 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรค เวอร์ดนิก-ฮอฟฟ์แมน ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลงเรื่อยๆ ต้องพึ่งรถเข็นตลอดเวลา แต่การผ่าตัดย้ายศีรษะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่ยอมรับศีรษะใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม นอกจากนี้ การเชื่อมต่อศีรษะกับร่างกายก็ต้องอาศัยไขสันหลัง ที่อุดมไปด้วนเส้นเลือดและเส้นประสาท ที่ยากจะจำลองขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ดี การผ่าตัดปลูกถ่ายศีรษะก็ยังเป็นไปได้มากกว่าการย้ายสมองไปสู่ศีรษะใหม่ เพราะการนำสมองออกจากกะโหลก อาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อสมอง









นพ.แซร์จีโอ กานาเวโร

ปลูกศีรษะบนร่างใหม่
นพ.แซร์จีโอ กานาเวโร วางแผนไว้เป็นอย่างดีว่าจะย้ายศีรษะมนุษย์ไปยังร่างใหม่อย่างไร
1.       นำศีรษะผู้ป่วยและร่างผู้บริจาคไปแช่เย็นพื่อให้เนื้อเยื่ออยู่ได้นานขึ้นในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนจากเลือดมาหล่อเลี้ยง
2.       ตัดเนื้อเยื่อรอบคอแล้วต่อพลาสติกขนาดเล็กเข้ากับปลายเส้นเลือดใหญ่จากนั้นจึงตัดเส้นประสาทไขสันหลัง
3.       ฉีดสารเคมีเพื่อเร่งกระบวนการเยียวยาตัวเองของเซลล์ไขสันหลัง
4.       ต่อปลายกล้ามเนื้อและเส้นเลือดของศีรษะและร่างใหม่หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะพักฟื้นในภาวะโคม่า
ความซับซ้อนของสมองคือปัญหา
ความฝันอยากมีชีวิตอมตะโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากย้อนกลับไปอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนเมื่อหลายสิบปีก่อน จะเห็นว่าหลายๆเรื่องก็เสนอแนวคิดนี้ แต่พัฒนาการด้านปัญญาประดิษฐ์และด้านอื่นๆในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ความคิดอยากเป็นอมตะด้วยเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่เป็นไปได้มากขึ้น และนักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ยินดีพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันในหัวข้อนี้
แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับเคิร์ซไวล์และทีมงาน 2045 อินิชิเอทีฟ ไปเสียหมด บุคคลหนึ่งที่เห็นต่างคือพอล อัลเลน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยหลายโครงการโดยเฉพาะโครงการวิจัยสมอง อัลเลนเคยวิพากษ์ความคิดของเคิร์ซไวล์ที่จะทำสำเนาดิจิทัลของสมองและจิตมนุษย์ว่า ปัจจุบันเรายังรู้จักสมองน้อยมาก และยิ่งรู้มากขึ้นก็ยิ่งตระหนักว่าสมองคนเราซับซ้อนเหลือเกิน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีวันเข้าใจการทำงานของสมองอย่างแท้จริงหรือไม่ ผลการวิจัยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เราเรียกว่าจิตนั้นที่แท้จริงคือการทำงานร่วมกันของสมองหลายๆส่วน นักวิทยาศาสตร์ที่พยายามไขปริศนาของสมองจึงพบปัญหาที่แก้ไม่ตกหลายข้อด้วยกันและนี่ก็คือ คำถามสำคัญสำหรับโครงการ 2045 อินิชิเอทีฟ เพราะถ้าไม่สามารถทำสำเนาดิจิทัลของสมองได้ มนุษย์ก็ต้องพึ่งร่างกายที่เปราะบาง และหนีไม่พ้นกฎทางชีววิทยา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเองให้เป็นสปีชีส์ใหม่ที่เป็นอมตะ และฉลาดล้ำกว่าคนยุคปัจจุบัน
ประโยชน์ คือ คนพิการหรือคนป่วยมีโอกาสได้ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ
ผลกระทบ คือ มีความเสี่ยงถึงชีวิตของผู้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับ ชีววิทยา การแพทย์







เรียบเรียง : สุธีร์


Share on Google Plus

About Unknown

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น