นักวิทยาศาสตร์ในเยอรมันสามารถปลูกต้นไม้ให้เป็นเหมืองแร่ได้


ใครว่าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่ธรรมชาติ ?

บทความโดย Lindsey Kratochwill

ในอนาคตเราจะสามารถสร้างสมาร์ทโฟนขึ้นมาจากต้นไม้ได้!
นักวิทยาศาสตร์ในเยอรมัน (Freiburg University of Mining and Technology) ค้นพบหนทางใหม่ในการสกัดวัสดุเซมิคอนดักเตอร์, เจอร์เมเนียมจากพื้นโลกของเราเอง (semiconductor material, germanium)

ธาตุนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศเยอรมัน (สังเกตได้จากชื่อธาตุ germanium) และมันก็ที่เป็นที่นิยมมากตั้งแต่ถูกผลิตขึ้นครั้งแรก ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่างๆส่วนมากมาจากจีน
เจอร์เมเนียม (germanium) มีอยู่ในพื้นดินทั่วโลก แต่แตกต่างกันที่การสกัดและส่วนใหญ่จะเป็นการนำดินมาผ่านกระบวนการผ่านแร่สังกะสีหรือการเผาด้วยถ่านหินโดยตรง

เหล่านักวิทยาศาสตร์จาก Freiburg มองหาวิธีการใหม่ พวกเขาใช้ต้นดอกทานตะวัน ข้าวโพด reed canary grass (ไม่รู้ชื่อไทย ขอโทษครับ T^T) เพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม คนอื่นๆก็เริ่มใช้วิธีการนี้กับโลหะ เช่น เหล็ก และ ทองแดง

มันเป็นวิธีการพื้นฐานหรือเรียกว่าพืชเหมืองแร่
ในกรณีนี้นักวิทยาศาสตร์เก็บพืชต่างๆเหล่านี้ซึ่งสะสมเจอร์เมเนียม (germanium) หลังจากรากและหน่อดูดธาตุเจอร์เมเนียมขึ้นมาจากดิน หลังจากนั้นจึงนำมาดองและนำเข้ากระบวนการก๊าซชีวภาพ (biogas) ก่อนจะสกัดเจอร์เมเนียม (germanium) ออกมา วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ

ถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะสามารถสกัดเจอร์เมเนียม (germanium) ออกมาได้น้อยมากก็ตาม แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น นักวิทยาศาสตร์กำลังทดลองโดยใช้พืชชนิดอื่น การวิจัยนี้ยังคงดำเนินต่อไปในห้องแลปมหาวิทยาลัย  Freiburg...
Share on Google Plus

About Mr.RiP4

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น