จริงหรือไม่? ที่น้ำผึ้งไม่มีวันหมดอายุ


น้ำผึ้งเป็นสารเป็นสารธรรมชาติมหัศจรรย์ หากเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท น้ำผึ้งจะคงสภาพอยู่ได้โดยไม่เน่าเสียตราบนานเท่านาน
                อายุอันเกือบไร้ขีดจำกัดของน้ำผึ้งเกิดจากน้ำผึ้งมีความเข้มข้นของน้ำตาลสูงมาก มีน้ำเป็นองค์ประกอบน้อย (Free water) และยังมีเอนไซม์ที่สร้างจากตัวผึ้ง ซึ่งเอนไซม์นี้ได้จากกระเพาะของผึ้งในขณะที่ผึ้งดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ มันจะกลืนน้ำหวานลงไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งที่กระเพาะอาหารของผึ้งนั้นจะมีเอนไซม์ glucose oxidase เอนไซม์ตัวนี้จะย่อยน้ำตาลกลูโคส เป็นกรดกลูโคนิก และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อรา
                น้ำตาลความเข้มขั้นสูงในน้ำผึ้งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้น้ำผึ้งอยู่ได้นาน  โดยในน้ำผึ้งมีน้ำตาลอยู่ถึง 80%  มีน้ำอยู่ 19% และมีโปรตีนและเกลือแร่เพียง 1% ด้วยความเข้มข้นของน้ำตาลที่สูงนั้นทำให้จุลินทรีย์ที่ตกลงไปในน้ำผึ้ง เซลล์เกิดออสโมซิส ทำให้เซลล์ของจุลินทรีแห้งตาย และยิ่งไปกว่านั้นน้ำผึ้งยังมีฤทธิ์เป็นกรดโดยมี pH 3-4.5 ซึ่งในสภาวะเป็นกรดนี้แบคทีเรียไม่สามารถเจริญได้
                อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะเก้บน้ำผึ้งให้ได้นานๆ เราต้องเก้ในน้ำผึ้งที่ภาชนะเปิดสนิท เพื่อไม่ให้น้ำผึ้งดูดความชื้นจากอากาศ จะทำให้ความเป็กรดและความเข้มข้นองน้ำตาลลดลง ซึ่งจุลินทรีย์จะเจริญได้ และไม่ควรให้มือหรือ้อนแหย่ลงไปในน้ำผึ้งเพราะจะทำให้จุลินทรีย์แทรกตัวลงไปได้
                การใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้งมีมานานแล้วโดยเฉพาะใช้ในการดองศพ โดยมีตำนานถึงการใช้น้ำผึ้งดองศพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชใน  323 ปี ก่อนศริสต์ศักราช โดยพระศพจะดองด้วยน้ำผึ้งในโลงท้องคำ เพื่อรักษาไม่ให้พระศพเน่าเปื่อย เนื่องจากต้องเดินทางกลับสู่เมืองมาซิโดเนียนานถึง 3 ปี ยิ่งไปกว่านั้นชาวอียิปต์ยังใช้น้ำผึ้งเป็นของขวัญให้กับผูตาย โดยพบโถ่ใบหนึ่งในสุสานฟาดรห์ตุตันคามุน ซึ่งภายในบรรจุน้ำผึ้งซึ่งมีสภาพดีแม้จะเก็บนานมาแล้วถึง 3,000 ปี และยังพบว่าชาวอียิปต์โบราญยังใช้น้ำผึ้งในการฆ่าเชื้อดดยจะทาน้ำผึ้งลงบนบาดแผล เพื่อลดการเกิดหนองอัเบ และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

Share on Google Plus

About Unknown

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น